วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556
สิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยที่ตกสำรวจและผลกระทบจากข้อตกลงของประชาคมอาเซียน ๒๕๕๘
สัญชาติอาเซียน
หลักของการมีสัญชาติตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ เป็นการที่รัฐเจ้าของสัญชาตินั้น ให้การคุ้มครองรวมถึงกระทำการแทนบุคคลธรรมหรือนิติบุคคล เพราะด้อยสภาพตามกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว บุคคลธรรมดายังไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่า เป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศเหมือนดังกับรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ
การที่จะให้สัญชาติแก่บุคคลใดจึงจำเป็นจะต้องคำนึงถึงจุดเกาะเกี่ยวที่เรียกว่า ความเกี่ยวโยงอันแท้จริง(genuine link) อันจะเป็นพื้นฐานใต้การแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่างประชาชนที่รัฐได้ให้สัญชาติมากกว่ารัฐอื่น(เทียบเคียงคดี ICJ Nottebobm ๑๙๕๕)
ดังนั้น การกำหนดสัญชาติอาเซียนจึงไม่ใช่แนวคิดที่สอดคล้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะอาเซียนไม่ได้มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการรับรองสัญชาติให้แก่ปัจเจกชน (โปรดดูมาตรา ๑ และ ๒ ของกฎบัตรอาเซียน)
นอกจากนี้ การกำหนดให้มีสัญชาติอาเซียนแล้วรัฐใดที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองและดูแล รัฐใดจะให้ความคุ้มครองทางการฑูต (diplomatic protection) แก่กลุ่มคนดังกล่าว ถ้าได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและกระบวนการเยียวยาภายในประเทศได้สิ้นสุดลงแล้ว(exhaustion of Local remedies)
ความสำคัญของสัญชาติเป็นเรื่องใหญ่ การที่จะกำหนดให้กลุ่มบุคคลที่ไร้สัญชาติและรอคอยการพิสูจน์ให้มีสัญชาติอาเซียน ย่อมไม่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแท้จริงของปัจเจกชนที่มีต่อรัฐสมาชิกอาเซียน แต่กลับจะกลายเป็นแต่เพียงความสัมพันธ์อย่างผิวเผิน ซึ่งมิได้มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดไปกว่ารัฐสมาชิกใดๆ ของอาเซียนเช่นกัน
จากการที่กฎบัตรอาเซียนได้สร้างคุณค่าเพิ่ม (value added) ให้กับอาเซียน ซึ่งประการหนึ่งที่สำคัญ คือ การเคารพในหลักนิติธรรม (Rule of Law) กล่าวคือ เป็นการจำกัดอำนาจของอาเซียนให้ต้องกระทำอยู่ภายใต้กฎหมาย เมื่ออาเซียนเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกระทำการให้สอดคล้องกับพันธกรณีในทางระหว่างประเทศ
จากที่กล่าวมา ข้อคิดเห็นเบื้องต้นในทางกฎหมายแล้ว ประเด็นเรื่องสัญชาติอาเซียนจึงไม่มีหลักการตามกฎหมายระหว่างประทเศสหรัฐอเ
รองรับที่จะให้อาเซียนกระทำได้ เพราะมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการลดการไร้สัญชาติ (United Nations Convention on the Reduction of Statelessness ๔ December ๑๙๕๔) เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
---------------------------------------
หลักการสำคัญในการลดปัญหาการไร้สัญชาติที่สำคัญ คือ
๑. รัฐต้องให้สัญชาติแก่บุคคลที่เกิดในดินแดนของตนโดยใช้หลักดินแดนขณะเกิดหรือภายหลัง โดยใช้ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่ใครค
๒. ถ้าบุคคลเกิดบนเรือหรืออากาศยานให้ถือว่าเกิดในดินแดนของรัฐที่เรือชักธงหรืออากาศยานจดทะเบียน
๓. กฎหมาย ภายในรัฐที่บัญญัติเรื่องการเสียสัญชาติเนื่องจากการเปลี่ยนสถานะของบุคคล การเสียสัญชาติต้องมีเงื่อนไขว่าจะเสียสัญชาติเมื่อได้สัญชาติอื่นแล้ว
๔. การสละสัญชาติมีผลต่อเมื่อได้รับสัญชาติอื่นก่อน
๕. การถอนสัญชาติต้องไม่ทำให้บุคคลเป็นคนไร้สัญชาติเว้นแต่เพื่อความมั่นคง
๖.การเปลี่ยนแปลงอธิปไตยเหนือดินแดน รัฐคู่ภาคีต้องมีบทบัญญัติป้องกันมิให้บุคคลในดินแดนนั้นเป็นคนไร้สัญชาติ
---------------------------------------
CHARTER OF THE ASSOCIATION OF SOUTHEAST ASIAN NATIONS
CHAPTER I
PURPOSES AND PRINCIPLES
ARTICLE 1
PURPOSES
The Purposes of ASEAN are:
1. To maintain and enhance peace, security and stability and further strengthen peace-oriented values in the region;
2. To enhance regional resilience by promoting greater political, security, economic and socio-cultural cooperation;
3. To preserve Southeast Asia as a Nuclear Weapon-Free Zone and free of all other weapons of mass destruction;
4. To ensure that the peoples and Member States of ASEAN live in peace with the world at large in a just, democratic and harmonious environment;
5. To create a single market and production base which is stable, prosperous, highly competitive and economically integrated with effective facilitation for trade and investment in which there is free flow of goods, services and investment; facilitated movement of business persons, professionals, talents and labour; and freer flow of capital;
6. To alleviate poverty and narrow the development gap within ASEAN through mutual assistance and cooperation;
7. To strengthen democracy, enhance good governance and the rule of law, and to promote and protect human rights and fundamental freedoms, with due regard to the rights and responsibilities of the Member States of ASEAN;
8. To respond effectively, in accordance with the principle of comprehensive security, to all forms of threats, transnational crimes and transboundary challenges;
9. To promote sustainable development so as to ensure the protection of the region’s environment, the sustainability of its natural resources, the preservation of its cultural heritage and the high quality of life of its peoples;
10. To develop human resources through closer cooperation in education and life-long learning, and in science and technology, for the empowerment of the peoples of ASEAN and for the strengthening of the ASEAN Community;
11. To enhance the well-being and livelihood of the peoples of ASEAN by providing them with equitable access to opportunities for human development, social welfare and justice;
12. To strengthen cooperation in building a safe, secure and drugfree environment for the peoples of ASEAN;
13. To promote a people-oriented ASEAN in which all sectors of society are encouraged to participate in, and benefit from, the process of ASEAN integration and community building;
14. To promote an ASEAN identity through the fostering of greater awareness of the diverse culture and heritage of the region; and
15. To maintain the centrality and proactive role of ASEAN as the primary driving force in its relations and cooperation with its external partners in a regional architecture that is open, transparent and inclusive.
ARTICLE 2
PRINCIPLES
1. In pursuit of the Purposes stated in Article ๑, ASEAN and its Member States reaffirm and adhere to the fundamental principles contained in the declarations, agreements, conventions, concords, treaties and other instruments of ASEAN.
2. ASEAN and its Member States shall act in accordance with the following Principles:
a. respect for the independence, sovereignty, equality, territorial integrity and national identity of all ASEAN Member States;
b. shared commitment and collective responsibility in enhancing regional peace, security and prosperity;
c. renunciation of aggression and of the threat or use of force or other actions in any manner inconsistent with international law;
d. reliance on peaceful settlement of disputes;
e. non-interference in the internal affairs of ASEAN Member States;
f. respect for the right of every Member State to lead its national existence free from external interference, subversion and coercion;
g. enhanced consultations on matters seriously affecting the common interest of ASEAN;
h. adherence to the rule of law, good governance, the principles of democracy and constitutional government;
i. respect for fundamental freedoms, the promotion and protection of human rights, and the promotion of social justice;
j. upholding the United Nations Charter and international law, including international humanitarian law, subscribed to by ASEAN Member States;
k. Abstention from participation in any policy or activity, including the use of its territory, pursued by any ASEAN Member State or non-ASEAN State or any non-State actor, which threatens the sovereignty, territorial integrity or political and economic stability of ASEAN Member States;
l. Respect for the different cultures, languages and religions of the peoples of ASEAN, while emphasizing their common values in the spirit of unity in diversity;
m. The centrality of ASEAN in external political, economic, social and cultural relations while remaining actively engaged, outward-looking, inclusive and nondiscriminatory; and
n. Adherence to multilateral trade rules and ASEAN’s rules-based regimes for effective implementation of economic commitments and progressive reduction towards elimination of all barriers to regional economic integration, in a market-driven economy.
---------------------------------------
กฎบัตรสมาคมแห่ง
ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หมวดที่ 1
ความมุ่งประสงค์และหลักการ
ข้อ 1
ความมุ่งประสงค์
ความมุ่งประสงค์ของอาเซียนคือ
1. เพื่อธำรงรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ กับทั้งเสริมสร้างคุณค่าทางสันติภาพในภูมิภาคให้มากขึ้น
2. เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวยืดหยุ่นสู่สภาวะปกติของภูมิภาคโดยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
3. เพื่อธำรงรักษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และปราศจากอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอื่นๆ ทุกชนิด
4. เพื่อทำให้แน่ใจว่าประชาชนและรัฐสมาชิกของอาเซียนอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้โดยสันติในสภาวะที่เป็นธรรม มีประชาธิปไตยและและมีความปรองดองกัน
5. เพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง มีความสามารถในการแข่งขันสูง และมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจซึ่งมีการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า บริการ และการลงทุน การเคลื่อนย้ายที่ได้รับความสะดวกของนักธุรกิจ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีความสามารถพิเศษและแรงงาน และการเคลื่อนย้ายอย่างเสรียิ่งขึ้นของเงินทุน
6. เพื่อบรรเทาความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาภายในอาเซียนโดยผ่านความช่วยเหลือซึ่งกันและกันและความร่วมมือ
7. เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย เพิ่มพูนธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรม ตลอดจนส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ของรัฐสมาชิกของอาเซียน
8. เพื่อตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ ต่อสิ่งท้าทายทุกรูปแบบ อาชญากรรมข้ามชาติ และสิ่งท้าทายข้ามพรมแดนอื่นๆ
9. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อทำให้แน่ใจว่า ในภูมิภาคมีการคุ้มครองสภาพแวดล้อม ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
10. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยผ่านความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างพลังประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแห่งประชาคมอาเซียน
11. เพื่อเพิ่มพูนความเป็นอยู่ที่ดีและการดำรงชีวิตของประชาชนอาเซียนด้วยการให้ประชาชนมีโอกาสที่ทัดเทียมกันในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม และความยุติธรรม
12. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มั่นคง และปราศจากยาเสพติด สำหรับประชาชนของอาเซียน
13. เพื่อส่งเสริมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการรวมตัวและการสร้างประชาคมของอาเซียน
14. เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยผ่านการส่งเสริมความสำนึกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมรดกของภูมิภาคยิ่งขึ้น และ
15. เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์รวมและบทบาทเชิงรุกของอาเซียนในฐานะพลังขับเคลื่อนหลักในความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาค ในภาพแบบของภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส และไม่ปิดกั้น
ข้อ 2
หลักการ
1. ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุความมุ่งประสงค์ตามข้อ 1 อาเซียนและรัฐสมาชิกอาเซียนยืนยันและยึดมั่นในหลักการพื้นฐานที่ปรากฏในปฏิญญา ความตกลงอนุสัญญา ข้อตกลง สนธิสัญญา และตราสารอื่นๆ ของอาเซียน
2. ให้อาเซียนและรัฐสมาชิกอาเซียนปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
1. การเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
2. ความผูกพันและความรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคงและความ มั่งคั่งของภูมิภาค
3. การไม่ใช้การรุกราน และการข่มขู่ว่าจะใช้หรือการใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
4. การอาศัยการระงับข้อพิพาทโดยสันติ
5. การไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
6. การเคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง การบ่อนทำลาย และการบังคับ จากภายนอก
7. การปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
8. การยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
9. การเคารพเสรีภาพพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
10. การยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
11. การละเว้นจากการมีส่วนร่วมในนโยบายหรือกิจกรรมใดๆ รวมถึงการใช้ดินแดนของตน ซึ่งดำเนินการโดยรัฐสมาชิกอาเซียนหรือรัฐที่มิใช่สมาชิกอาเซียนหรือผู้กระทำที่ไม่ใช่รัฐใดๆ ซึ่งคุกคามอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน หรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
12. การเคารพในวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน โดยเน้น คุณค่าร่วมกันของประชาชนอาเซียนด้วยจิตวิญญาณของเอกภาพในความหลากหลาย
13. ความเป็นศูนย์รวมของอาเซียนในความสัมพันธ์ภายนอกทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยคงไว้ซึ่งความมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน การมองไปภายนอก การไม่ ปิดกั้นและการไม่เลือกปฏิบัติ และ
14. การยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียนซึ่งมีกฎเป็นพื้นฐาน สำหรับการปฏิบัติตามข้อผูกพันทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไปสู่การขจัดอุปสรรคทั้งปวงต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ในระบบเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนโดยตลาด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น